loading...

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บทความพิเศษ by play : มหันตภัยวงการเกม วิปโยคปี 1983


วงการเกมในทุกวันนี้ ถือเป็นธุรกิจสื่อบันเทิงอันดับต้นๆของโลก หลายๆเกมประสบความสำเร็จมากมาย สร้างแฟนไชส์ทำเงิน มีประสบความสำเร็จ มีล้มเหลว มีการสร้างงานให้แก่คนมากมาย เรียกว่าในปัจจุบันเป็นสื่อบันเทิงที่น่าจะล่มสลายได้ยากชนิดเป็นไปไม่ได้ ซึ่งหากบอกว่า วงการเกมมันล่มสลาย คนฟังคงหายใจไม่ออกเพราะหัวเราะกันอย่างบ้าคลั่ง อาจจะออกมาพูดว่า "นี้มันไม่ใช่โลกยุค MAD MAX นะเฟ้ย ที่อารยธรรมบนโลกจะล่มสลายง่ายๆ" แต่ใครจะรู้ว่า วงการเกมเคยทำให้คนล่มละลาย ตกงาน ของที่นักลงทุนต่างเอามือยื่นออกมาแล้วบอก อย่าเข้ามาใกล้นะเฟ้ย ใช่แล้ว วงการเกมเคย "ล่มสลาย" มาแล้วครั้งนึงเมื่อปี พ.ศ.2526 หรือปี 1983 ปีที่ Beat It ของ ไมเคิล แจ็คสันชวนให้วัยรุ่นยุคนั้นออกมาเต้นกลางสยาม ยุคที่เมืองไทยได้รู้จักกับ ห้างเซ็นทรัล ที่ลาดพร้าว ปีที่ ตั๊กแตน ชลดา ลืมตาดูโลก โดยนักประวัติศาสตร์เกมได้ตั้งชื่อยุคนี้ว่า "วิกฤตการณ์ Video Game 1983"

เอาล่ะ ก่อนที่จะนำพาไปสู่เหตุการณ์ที่ว่า คงต้องขอท้าวความถึงยุคสมัยของเกมในเวลานั้นก่อน ยุคนั้น Nintendo ยังคงผลิตแค่ไพ่ Sony ยังผลิตแค่เครื่องใช้ไฟฟ้า บิลเกตยังนั่งหมกมุ่นกับการทำ Window บริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดของ Video Game มากที่สุดในตอนนั้นคือ Atari ด้วยการบุกยึดตลาดด้วยเครื่อง Home Pong เครื่องเกมตีปิงปองที่เป็นเกมอาเขตสุดฮิต ก่อนจะนำมาเปลี่ยนเป็นเครื่อง Console สำหรับบ้าน และตีตลาดแตกด้วยเครื่อง Atari 2600 เครื่องเกมที่สามารถเปลี่ยนตลับเล่นเกมได้ และเกมแม้จะเป็นเกมง่ายๆ ดูไม่ยาก แต่ในยุคนั้นเกมพวกนี้ถือเป็นสิ่งที่ตื่นตาพวกเค้าอย่างสุดจะบอกได้ ทำให้ Atari กลายเป็นบริษัทที่ทำกำไรมากที่สุด และกลายเป็นจ้าวแห่งเกม Console ในยุคนั้นไป ความนิยมของ Video Game แพร่ไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล แน่นอนว่าใครๆต่างก็อยากจะร่วมกินเค้กชิ้นนี้ร่วมกับ Atari แน่นอน จึงเกิดค่ายเกมมากมาย ทั้งผลิตเกมลงบนเครื่อง Atari และผลิตคอนโซลขึ้นมาเอง

ลองจินตนาการถึงโรตีบอย ยอดขนมสุดฮิตที่เข้ามาในไทย ในตอนนั้นมาเปิดร้าน โรตีบอย คนแห่กินชนิดต่อแถวซื้อกันยาวทะลุถนน พอคนเห็นก็ เฮ้เราก็ทำได้ ก็มีร้าน โรตีแมน โรตีเบอเกอรี่ มิสเตอร์บอย บลาๆๆๆ จนจากเดิมที่มีแค่ โรตีบอย กลายเป็นมีขนมโรตีบอยมากมายกลายเป็น "เฟ้อ" คนไม่มีความจำเป็นต้องเจาะจงเฉพาะร้าน เพราะยังไงของมันก็เหมือนๆกัน ทำให้จากเดิมโรตีบอยขายดี ก็กลายเป็นขาสยน้อยลงๆ จนในที่สุดก็ปิดกิจการไป ทำไมผมเอาเรื่องนี้มาพูด เพราะว่าการที่มีบริษัท Video Game มาร่วมขอส่วนแบ่งเค้กจาก Atari มากมาย มันทำให้วงการเกมเกิดการ เฟ้อ อย่างรุนแรง ทำให้เกมจากที่ขายดีก็เริ่มเกร่อตลาดมากขึ้น การเห็นว่าเค้กของวงการเกมใหญ่ชิ้นก็เริ่มเล็กลงเรื่อยๆ ทำให้บริษัทที่เข้าร่วมกินเค้กก็เริ่มล้มหายตายจาก ไม่เป็นไปตามคาด ยังดีที่ Atari ยังครองส่วนแบ่งได้อยู่ด้วยเกมและคุณภาพที่ยังคงเส้นคงวา

"แต่ว่าหาก Atariซี่งเป็นผู้นำ เกิดทำล้มเหลวซะเองล่ะ" แน่นอนว่าวงการเกมถ้าผู้นำเกิดทำพลาดล้มซะเอง คงไม่มีใครเชื่อถืออีกแน่ๆ และ Atari ก็ดันทำพลาดจริงๆ


ขอพูดถึงภาพยนตร์เอเลี่ยนเพื่อนรักอย่าง E.T. ก่อน E.T. เป็นภาพยนตร์ผลงานของสตีเว่น สปีลเบิร์ก ที่เกี่ยวข้องกับเอเลี่ยนที่ลงมาสู่โลกและต้องการหาทางกลับบ้าน ซึ่งภาพยนตร์ฉายเมื่อปี 1982 ซึ่งทำรายได้ถล่มทลาย และการมาของ Pac-Man เกมArcade สุดฮิต ทำให้ Atari มองเห็นลู่ทางการทำรายได้แบบกอบโกยในช่วงคริสมาสต์ปี 1982  นี้ Atari จึงได้ติดต่อกับทาง Namco เจ้าของเกม Pac-Man เพื่อขอซื้อลิขสิทธิ์เกมพอร์ตลงเครื่อง Atari 2600 และติดต่อค่าย Univelsal เพื่อขอลิขสิทธิ์ภาพยนตร์เรื่อง E.T. ไปทำเป็นเกมบนเครื่อง Atari 2600 โดยนักวิเคราะห์การตลาดมองว่า 2เกมนี้อาจทำรายได้ให้กับ Atari มากกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐ


    แต่เพราะความต้องการที่จะรีบกอบโกยรายได้ในช่วงคริสมาสต์ ทำให้ Atari เร่งการพัฒนาเกม2เกมนี้ในเวลาที่รวดเร็วเกินไป นั่นคือใช้เวลาไม่ถึง2เดือนเพื่อออกวางขาย และนั่นคือการก่อวินาศกรรมด้วยตัวเองของ Atari เมื่อคุณภาพเกมทั้ง2เกมเข้าขั้น เลวร้าย ชนิดจินตนาการไม่ออก ผู้ซื้อมาเล่นต่างบ่นกันอย่างมหาศาล แถม Atari ยังปั๊มเกมออกมามากกว่าจำนวนเครื่องที่ขายไป ด้วยความคิดที่ว่าเกมจะทำให้คนซื้อเครื่องมากขึ้น แต่นั่นคือการคิดผิดมหันต์ เกมขายได้ไม่ตามเป้าและเหลือในสต๊อคมากเกินไป จนทำให้Atari ต้องนำเกมทั้ง2เกมนี้ไปฝังในชายแดนแถบ Maxico และทำให้ความน่าเชื่อถือของบริษัทลดฮวบฮาบจนราคาหุ้นทิ้งดิ่ง และเหตุการณ์นี้ลากยาวมาสู่ปี 1983 บริษัทเกมไร้ความน่าเชื่อถือ ไม่มีใครลงทุนเกี่ยวกับเกม และ ยอดขายเครื่องเกมลดลงอย่างมหาศาล จึงเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่าวิกฤติการณ์Video Game 1983  ทำให้ตลาดวงการเกมซบเซาสุดขีดจนบริษัทเกมหลายบริษัทต้องปิดตัวลง

ในปี 1983 Atari ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากเหตุการณ์นี้ ราคาหุ้นทิ้งดิ่งทำให้บริษัทต้องยกเลิกโปรเจคเกมผจญภัย3เกมที่ให้ผู้เล่นเข้าชิงรางวัลทองคำจากบริษัท ยอดขายคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ตามเป้า ทำให้Atari ได้รีบเร่งผลิตเครื่องคอนโซลตัวใหม่ของค่ายมานามว่า Atari 5200 ที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า Atari 2600 มาพร้อมกับเกม Mrs Pac-Man โดยหวังว่าเจ้าเครื่องนี้จะช่วยกอบกู้สภาวะไม่สู้ดีของบริษัทจากผลกระทบวิกฤติการณ์นี้ได้


    แต่ว่า Atari 5200 ขายไม่ได้ตามเป้า แถมยังถูกต่อว่าจากผู้ซื้อมากมายทั้งในเรื่องการติดตั้งที่ยุ่งยาก ดีไซน์ใหญ่ไร้เหตุผล คอนโทรลเลอร์ไม่ได้เรื่อง ที่สำคัญคือไม่สามารถนำเกม Atari 2600 มาเล่นเครื่องนี้ได้ ทำให้จากที่ราคาหุ้นควรจะดีขึ้น ก็ทิ้งดิ่งลงไปมากกว่าเดิม จึงหันเหไปทำอุปกรณ์เสริมให้กับเครื่องขายกีของตัวเองอย่าง Atari 2600 เช่นการทำให้เครื่องเกมนี้เป็นคอมพิวเตอร์บ้าง แต่ก็ไม่ได้ทำออกมาขายอย่างที่คิด จนทำให้ต้องมีการโละพนักงานอีก 600 คนเพื่อรักษาสภาวะของบริษัทไว้ 

    ธุรกิจวงการเกมตกต่ำจนกระทั้งการมาของ Nintendo ในปี 1984 ที่ทำให้วงการเกมเกิดประวัติการณ์ใหม่อีกครั้ง แล้วครั้งหน้าจะมาเขียนเรื่องราว การบุกเบิกของ Nintendo และ การมาอเมริกาที่ทำให้พลิกวงการเกมกลับมาฟื้นคืนชีพใหม่อีกครั้ง ส่วน Atari ก็ไม่สามารถกลับมาผงาดได้อีกเลยจนปัจจุบัน


อ้างอิง : online-station.net

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น